วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของ ขนมบุหงาปูดะ

                              ประวัติความเป็นมาของ ขนมบุหงาปูดะ

ขนมบุหงาปูดะ ก่อเกิดมาตั้งแต่ 100 กว่าปี เป็นขนมในวังและเป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์ ของตำบลเกตรีและ จังหวัดสตูล เป็นขนมที่มีตำนาน โดยเริ่มจากสตรีชาวบ้านเกตรี เข้าไปเป็นแม่ครัวในวังเจ้าเมืองสตูล ต่อมาเมื่อลาออกจากแม่ครัวในวัง กลับมาอยู่บ้าน ได้นำเอาความรู้ ประสบการณ์ในการทำขนมมาเผยแพร่ให้ลูกหลานชาวตำบลเกตรี จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และนิยมทำขนมบุหงาปูดะ ในช่วงเทศกาล รายอ งานแต่งงาน และงานประเพณีต่าง ๆ ตั้งแต่นั้นมา จนกระทั่งเมื่อปี 2546 ได้รับการพิจารณา จากการทำเวทีประชาคมของตำบลเกตรี อนุมัติให้กลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีเกตรี หมู่ที่ 3 ตำบลเกตรี เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จนถึงปัจจุบัน (ตำนานผลิตภัณฑ์ขนมบุหงาปูดะ หมู่ที่ 3 ตำบลเกตรีอำเภอเมืองสตูล) และสิ่งที่ทำให้เกิดแรงจูงใจ และจุดประกายในการทำขนมบุหงาปูดะขึ้น เกิดจากบุตรสาวของ นางฮาหวา กองพล บอกกับแม่ว่าแม่ทำขนมอะไรก็ไม่ประสบความสำเร็จทำไมแม่ไม่ทำขนมที่แม่ถนัดที่สุด ทำให้นางฮาหวา กองพล ก็นึกถึงขนมบุหงาปูดะขึ้น และได้รวมกลุ่มกันทำขนมบุหงาปูดะ จึงได้จัดตั้งกลุ่ม โดยเน้นทำขนมพื้นบ้าน ซึ่งทุกคนมีความรู้อยู่บ้างแล้วมีสมาชิกแรกเข้ารวม 5 คน ลงหุ้นคนละ 100 บาท เป็นเงิน 500 บาท นำไปซื้อวัสดุเพื่อทำขนมโดยใช้บ้านและอุปกรณ์ของสมาชิกเป็นสถานที่ผลิต ซึ่งส่วนผสมคือมะพร้าว เป็นมะพร้าวที่ปลูกในหมู่บ้าน และส่วนผสมอื่น ๆ ก็เป็นวัสดุหาได้จากในหมู่บ้าน เช่น สีม่วง จากดอกอัญชัน สีเขียวจากใบเตย เป็นพืชที่ราษฎรส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในบริเวณบ้านสมาชิก ปัจจุบันสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 20 คน ต่อมา สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสตูล และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล ส่งเสริมและสนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมการคัดสรร OTOPทุกระดับผลจากการคัดสรร ปี 2546 ระดับ 3 ดาว ปี 2547 ระดับ 4 ดาว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น