วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แหล่งที่มารูปภาพ

http://www.google.co.th/imgres?um

แหล่งที่มา

ptoday.com/wisdom/provinces/south

รูปภาพ






ขั้นตอนในการทำขนมพื้นบ้านจังหวัดสตูล



1. นำแป้งมาร่อนลงในกระทะให้เป็นแผ่นที่ร้อนแล้ว
2. พอแป้งกะเทาะจากกระทะแล้วนำไส้ขนมตั้งบนแป้ง
3. การพับแป้งขนมบุหงาปูดะเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือรูปแบบที่ต้องการตั้งไว้สักครู่
4. ยกขนมออกจากกระทะนำมาตั้งไว้จนกระทั่งเย็นจึงบรรจุกล่อง





วัตถุดิบของขนมบุหงาบูดะ

วัตถุดิบของขนมบุหงาบูดะ
1. แป้ง
2. น้ำตาล
3. มะพร้าว
4. ดอกอัญชัน
5. ใบเตย

ความสัมพันธ์กับชุมชน

ความสัมพันธ์กับชุมชน


ผลิตภัณฑ์ขนมบุหงาปูดะ ก่อเกิดมาตั้งแต่ 100 กว่าปี เป็นขนมในวังและเป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์ ของตำบลเกตรีและ จังหวัดสตูล เป็นขนมที่มีตำนาน โดยเริ่มจากสตรีชาวบ้านเกตรี เข้าไปเป็นแม่ครัวในวังเจ้าเมืองสตูล ต่อมาเมื่อลาออกจากแม่ครัวในวัง กลับมาอยู่บ้าน ได้นำเอาความรู้ ประสบการณ์ ในการทำขนมมาเผยแพร่ให้ลูกหลานชาวตำบลเกตรี จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายภายในหมู่บ้าน และเป็นอาชีพของคนเกตรีและเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น



เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

                                 เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ขนมบุหงาปูดะ เป็นขนมพื้นบ้าน พับแป้ง เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีหลายสี ซึ่งทำจากสีธรรมชาติ ที่หาจากบริเวณรอบบ้าน และเป็นเอกลักษณ์ ของตำบลเกตรี และ จังหวัดสตูล






ประวัติความเป็นมาของ ขนมบุหงาปูดะ

                              ประวัติความเป็นมาของ ขนมบุหงาปูดะ

ขนมบุหงาปูดะ ก่อเกิดมาตั้งแต่ 100 กว่าปี เป็นขนมในวังและเป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์ ของตำบลเกตรีและ จังหวัดสตูล เป็นขนมที่มีตำนาน โดยเริ่มจากสตรีชาวบ้านเกตรี เข้าไปเป็นแม่ครัวในวังเจ้าเมืองสตูล ต่อมาเมื่อลาออกจากแม่ครัวในวัง กลับมาอยู่บ้าน ได้นำเอาความรู้ ประสบการณ์ในการทำขนมมาเผยแพร่ให้ลูกหลานชาวตำบลเกตรี จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และนิยมทำขนมบุหงาปูดะ ในช่วงเทศกาล รายอ งานแต่งงาน และงานประเพณีต่าง ๆ ตั้งแต่นั้นมา จนกระทั่งเมื่อปี 2546 ได้รับการพิจารณา จากการทำเวทีประชาคมของตำบลเกตรี อนุมัติให้กลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีเกตรี หมู่ที่ 3 ตำบลเกตรี เข้าร่วมโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จนถึงปัจจุบัน (ตำนานผลิตภัณฑ์ขนมบุหงาปูดะ หมู่ที่ 3 ตำบลเกตรีอำเภอเมืองสตูล) และสิ่งที่ทำให้เกิดแรงจูงใจ และจุดประกายในการทำขนมบุหงาปูดะขึ้น เกิดจากบุตรสาวของ นางฮาหวา กองพล บอกกับแม่ว่าแม่ทำขนมอะไรก็ไม่ประสบความสำเร็จทำไมแม่ไม่ทำขนมที่แม่ถนัดที่สุด ทำให้นางฮาหวา กองพล ก็นึกถึงขนมบุหงาปูดะขึ้น และได้รวมกลุ่มกันทำขนมบุหงาปูดะ จึงได้จัดตั้งกลุ่ม โดยเน้นทำขนมพื้นบ้าน ซึ่งทุกคนมีความรู้อยู่บ้างแล้วมีสมาชิกแรกเข้ารวม 5 คน ลงหุ้นคนละ 100 บาท เป็นเงิน 500 บาท นำไปซื้อวัสดุเพื่อทำขนมโดยใช้บ้านและอุปกรณ์ของสมาชิกเป็นสถานที่ผลิต ซึ่งส่วนผสมคือมะพร้าว เป็นมะพร้าวที่ปลูกในหมู่บ้าน และส่วนผสมอื่น ๆ ก็เป็นวัสดุหาได้จากในหมู่บ้าน เช่น สีม่วง จากดอกอัญชัน สีเขียวจากใบเตย เป็นพืชที่ราษฎรส่วนใหญ่ปลูกอยู่ในบริเวณบ้านสมาชิก ปัจจุบันสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 20 คน ต่อมา สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสตูล และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสตูล ส่งเสริมและสนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมการคัดสรร OTOPทุกระดับผลจากการคัดสรร ปี 2546 ระดับ 3 ดาว ปี 2547 ระดับ 4 ดาว



สมาชิกในกลุ่มขนมพื้นบ้านในจังหวัดสตูล

1. เด็กหญิง ปรินดา นุ่งอาหลี เลขที่ 13
2. เด็กหญิง อรัญญิกา มันเละ เลขที่ 18
3. เด็กหญิง อารียา มะสะกา เลขที่ 20
4. นางสาว  กิตติพร  เกปัน  เลขที่ 23
5. นางสาว อภิญญา  ปาติง  เลขที่ 26
6. นางสาว จิตติมา ฤทธิกาญจน์ เลขที่ 27
7. เด็กหญิง อารียา  หวันชิตนาย เลขที่ 32
8. เด็กหญิง อัสมา มาลินี เลขที่ 38

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1